กิจกรรม

27 มิถุนายน 2566

SUF-EEC-BUU: ผนึกกำลัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

****

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คนใหม่  (Eastern Economic Corridor: EEC) ได้เข้าพบ ดร.เสนาะ อูนากูล ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สกพอ. และประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล  โดยมี ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล (SUF) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล  และ ผศ.อภิเนตร อูนากูล คณะกรรมการมูลนิธิฯ ร่วมพบปะพูดคุย และสานต่อความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม การศึกษา และคุณภาพชีวิต ระหว่างมูลนิธิเสนาะ อูนากูล  กับ สกพอ. และมหาวิทยาลัยบูรพา  เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ บ้านเลขที่ 1010 ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ

24 มีนาคม 2565

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ได้จัดประชุมสามัญประจำปี  คณะกรรมการมูลนิธิ ขึ้น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิฯ เป็นประธานการประชุม และคณะกรรมการ พร้อมด้วย ดร.เสนาะ อูนากูล ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญดังนี้

1. การรายงานสถานะการเงิน และบัญชีปี 2564

2. การรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านของมูลนิธิฯ เช่น

- ความก้าวหน้า ความร่วมมือระหว่าง EEC กับ ม.บูรพา

- การจัดทำรายงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ แบบยั่งยืน: พื้นที่ภาคตะวันออกปี 2564

- การจัดทำโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน

- การจัดทำสื่อเพื่อใช้ในการเสนอแนวทางการป้องกันให้นักเรียนห่างไกลจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

- การระดมทุนเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลปลวกแดง ในการจัดการสภาพแวดล้อม เพื่อต้านการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19

- โครงการประกวดภาพถ่าย "วิถีชีวิตกับสายน้ำ และการพัฒนาในพื้นที่ EEC"

นอกจากนี้ในที่ประชุม ยังได้ย้ำให้ช่วยกันดูแลเรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ต้องตระหนัก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไปด้วย

1 กุมภาพันธ์ 2565

โครงการระดมคลังความคิดเพื่อสร้างสรรค์ มาตรการ ด้านความปลอดภัย โรงเรียนระดับประถมศึกษา  ในสถานการณ์โควิด-19 

เกณฑ์การตัดสิน

1. แนวความคิดแปลกใหม่ สร้างสรรค์บนความเป็นไปได้ ของมาตรการ ในสถานการณ์โควิด-19  

2. ระยะเวลา และผลที่คาดว่าจะได้รับที่เกิดขึ้นของ มาตรการ ในสถานการณ์โควิด-19  

3. ความถูกต้องของโครงการ และ ความเป็นไปได้ในการขยายผล โรงเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาอื่นได้

จากคณะกรรมหลากหลายวิชาชีพ

ซึ่งจะได้รับ ทุนสนับสนุนพัฒนาโรงเรียนในสถานการณ์โควิด-19 

- 30,000 บาท จำนวน 2 โรงเรียน

- 10,000 บาท จำนวน 2 โรงเรียน

และขอขอบคุณโรงเรียน ที่เป็นส่วนหนึ่งร่วมส่งผลงานเข้าร่วม โครงการระดมคลังความคิดเพื่อสร้างสรรค์ มาตรการ ด้านความปลอดภัย โรงเรียนระดับประถมศึกษา  ในสถานการณ์โควิด-19 

11 มกราคม 2565

สัมมนาวิชาการ “การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก” จะเปิดตัว “รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2564” จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง GISTDA,TDRI,NIDA และ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล

เป็นโอกาสของทุกท่าน ที่จะได้มีส่วนร่วมในการมาช่วยกันพัฒนาภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่เน้นความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสังคม และประชาชน เป็นสำคัญ

การสัมมนาครั้งนี้ เพื่อสร้างการรับรู้การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกที่ได้ทำมาแล้ว และที่กำลังจะทำให้เกิดขึ้นในอนาคต และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อไปอีกด้วย

ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อดังกล่าวได้ ในรูปแบบ Online ดัง Link แนบท้าย และ FB Live Page: GISTDA

25 กันยายน 2564

พฤหัส แลกรู้ กับ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล

“Back to School during COVID-19”

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สจล. ชวนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับโควิดผ่านหลากหลายมุมมอง ของ สหวิชาชีพ

ทุ่มตรง ทุกวันพฤหัสบดี ตลอดเดือน กันยายน 2564 

ในหัวข้อ   :  “โรงเรียนจะปรับการเรียนการสอนอย่างไรเมื่อต้องอยู่กับ โควิด-19”

โดย คณาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

• รองศาสตราจารย์ ดร. สฎายุ ธีระวณิชตระกูล 

คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา

• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพลศึกษา สำนักงานจัดการศึกษา

• ดร.ณฐาภพ สมคิด 

อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

• ดำเนินการเสวนา โดย ดร.สุกัลยา สุเฌอ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และกิจการพิเศษ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคการจัดการเรียนรู้

8 กรกฎาคม 2564

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับบริษัท ไอเคคร๊าฟท์ บริจาคเงิน 1 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น

โครงการ “ส่งต่อความห่วงใย” เป็นความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิเสนาะ อูนากูล กับบริษัท ไอเคคร๊าฟท์  จำกัด ผ่านการผลิตและจำหน่ายผ้าเช็ดมือ AVA ™ (Anti Viral Allergy free) รุ่น Limited Edition โดยได้รับความอนุเคราะห์ลวดลายจาก ม.ล. จิราธร จิรประวัติ  เพื่อการกุศล จำนวน 4,000 ผืน รายได้จากการจำหน่ายทั้งหมด 1,000,000 บาท ได้นำไปมอบให้กับกองทุนวันศรีนครินทร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีตัวแทนเข้าร่วมพิธีมอบเงินบริจาคดังนี้

1. ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการมูลนิธิเสนาะอูนากูล (ผ่าน (Zoom Online)

2. คุณสุนทร ไกรตระกูล ประธานบริษัท ไอเคคร๊าฟ จำกัด

3. ดร.กฤษณา สุขบุญญสถิตย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอเคคร๊าฟ จำกัด

4. รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี

5. รองศาสตราจารย์อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์

6. ผศ.นพ.ชวกิจ ภูมิบุญชู รองคณบดีฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศ และศูนย์กลางบริการสุขภาพ

7. ผศ.นพ.เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล ผู้ช่วยฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศ และศูนย์กลางบริการสุขภาพ

8. คุณวัฒนา พุทธิสวัสดิ์ ผู้จัดการกองทุนวันศรีนครินทร์ในพระราชูปถัมภ์

ซึ่งพิธีมอบเงินบริจาคดังกล่าว ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม ที่ผ่านมา ณ สำนักงานอธิการบดี ชั้น 6 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 เมษายน 2564

คณะผู้แทนจากมูลนิธิเสนาะ อูนากูล (SUF) ร่วมกับผู้แทนจาก GISTDA และ TDRI ได้เข้าพบ และประชุมหารือกับ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง (SuDSESC) สถาบันบัณฑิตย์พัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เพื่อขอคำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำรายงานประจำปี ทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ “EEC State of the Region Report” 

ทางคณะทำงานได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างมาก อีกทั้งยังอาสารับเป็นบรรณาธิการในการจัดทำรายงานฉบับนี้ให้อีกด้วย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นที่สำนักงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ชั้น 10 อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ สถาบันบัณฑิตย์พัฒนบริหารศาสตร์ ถ.เสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

27 มีนาคม 2564

คณะทำงานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ลงพื้นที่ Workshop เพื่อทำกิจกรรมสอนวาดรูปหน้ากากอนามัยป้องกันโควิด-19 ให้กับ 7 โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการส่งผลงานเข้าร่วมประกวดวาดภาพระบายสีหน้ากากอนามัย ดังนี้

1. โรงเรียนบ้านนอก

2. โรงเรียนบ้านระเวิง

3. โรงเรียนบ้านเกาะไม้แหลม

4. โรงเรียนบ้านเนินถาวร

5. โรงเรียนบ้านบึงกระโดน

6. โรงเรียนบ้านคลองใหญ่

7. โรงเรียนบ้านห้างสูง

22 มีนาคม 2564

ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ครั้งที่ 1/2564

28 ธันวาคม 2563

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงพื้นที่ ณ ห้องประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยลัยบูรพา ลงพื้นที่ 10 โรงเรียน เพื่อมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก เครื่องวัดอุณหภูมิ และฉากกั้นโต๊ะ ให้กับแต่ละโรงเรียนดังรายชื่อต่อไปนี้

1. โรงเรียนบ้านนอก อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

2. โรงเรียนบ้านระเวิง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

3. โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

4. โรงเรียนห้วยมะระ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

5. โรงเรียนบ้านห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

6. โรงเรียนบึงกระโดน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

7. โรงเรียนบ้านเกาะไม้แหลม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

8. โรงเรียนวัดเขาวนาพุทธาราม อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี

9. โรงเรียนบ้านเขาอำนวยสุข อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

10. โรงเรียนบ้านเนินถาวร อ.พานทอง จ.ชลบุรี

28 ธันวาคม 2563

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงพื้นที่ ณ ห้องประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยลัยบูรพา ลงพื้นที่ 10 โรงเรียน เพื่อมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก เครื่องวัดอุณหภูมิ และฉากกั้นโต๊ะ ให้กับแต่ละโรงเรียนดังรายชื่อต่อไปนี้

1. โรงเรียนบ้านนอก อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

2. โรงเรียนบ้านระเวิง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

3. โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

4. โรงเรียนห้วยมะระ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

5. โรงเรียนบ้านห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

6. โรงเรียนบึงกระโดน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

7. โรงเรียนบ้านเกาะไม้แหลม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

8. โรงเรียนวัดเขาวนาพุทธาราม อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี

9. โรงเรียนบ้านเขาอำนวยสุข อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

10. โรงเรียนบ้านเนินถาวร อ.พานทอง จ.ชลบุรี

27 ตุลาคม 2563

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงพื้นที่ ณ ห้องประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยลัยบูรพา เพื่อพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ สื่อประชาสัมพันธ์ ที่สามารถส่งผ่านความรู้และวิธีการ การปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) ในโรงเรียน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มสหวิชาชีพ


19 ตุลาคม 2563

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ สื่อประชาสัมพันธ์ ที่สามารถส่งผ่านความรู้และวิธีการ การปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) ในโรงเรียน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มคุณครู และนักเรียนในโรงเรียน


23 กรกฎาคม 2563

โครงการโรงเรียนเข้มแข็ง สู้ภัยโควิด-19 โดยมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับพันธมิตร มหาวิทยาลัยบูรพา บริษัท ดับเบิลเอ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศน์กับคณะครูโรงเรียนนำร่อง ทีมอาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จังหวัดชลบุรี โดยนำร่องโรงเรียน 10 โรงเรียนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่มีความขาดแคลน เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเดินหน้าสานต่อโครงการโรงเรียนเข้มแข็ง สู้ภัยโควิด-19 ที่ทางมูลนิธิเสนาะ อูนากูล และเครือข่ายพันธมิตร จะดำเนินการต่อไปในอนาคตให้เกิดความยั่งยืนต่อเนื่อง

โดยมี คุณชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ จำกัด (มหาชน) คุณสรณัฐ ไกรตระกูล บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วย ผศ.อภิเนตร อูนากูล ดร.มณฑิรา อูนากูล ผู้แทนจากมูลนิธิเสนาะ อูนากูล  รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รศ.ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคุณรักสิกา ฉิมพลี ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี  ซึ่งงานครั้งนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 206 อาคาร 60 พรรษามหาราชินี  คณะศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา จ.ชลบุรี

ในเบื้องต้นทางมูลนิธิฯ ได้มอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เฟซชิลด์สำหรับเด็ก และพรมฆ่าเชื้อโรค ให้กับแต่ละโรงเรียนดังรายชื่อต่อไปนี้

1. โรงเรียนบ้านเนินถาวร อ.พานทอง จ.ชลบุรี

2. โรงเรียนบ้านเขาอำนวยสุข อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

3. โรงเรียนวัดเขาวนาพุทธาราม อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี

4. โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

5. โรงเรียนบึงกระโดน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

6. โรงเรียนบ้านเกาะไม้แหลม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

7. โรงเรียนห้วยมะระ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

8. โรงเรียนบ้านห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี

9. โรงเรียนบ้านระเวิง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

10. โรงเรียนบ้านนอก อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

17 กรกฎาคม 2563

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล พร้อมด้วย ผศ.อภิเนตร อูนากูล และดร.มณฑิรา อูนากูล กรรการมูลนิธิ ได้รับมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และ เฟซชิลด์สำหรับเด็ก จาก ดร.ชญาน์ จันทวสุ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) เพื่อนำไปมอบให้กับโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป

15 กรกฎาคม 2563

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ PTTGC ได้มอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ให้กับ #โรงเรียนชุมชนบ้านกุดเป่ง จ.อุบลราชธานี โดยมี รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน เป็นผู้ประสานงาน

14 กรกฎาคม 2563

มูลนิธิเสนาะ อูนากูล ร่วมกับ ปตท.จีซี (PTTGC)  และศูนย์วิจัยและออกแบบงานสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง (RCDC-KMITL) ได้มอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ให้กับโรงเรียนรอบๆ สถาบัน KMITL เป็นการนำร่อง ได้แก่

1. โรงเรียนพรตพิทยพยัต

2. โรงเรียนเชิดเจิมศิลป์

3. โรงเรียนศึกษาพัฒนา

4. โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา